ปัจจุบันเรามักได้ยิน-ได้เห็น-ได้รับรู้จากสื่อต่าง ๆ ว่าสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนรุ่นอายุต่ำกว่า3* ลงไป อาจจะยังไม่รู้สึกอะไรเท่าไหร่ แต่คนรุ่น3*+ จนถึง4* ขึ้นไปนี่ หื้มมม.. เจอเต็ม ๆ ไหนจะความ“วัยทอง”ของพ่อแม่ ไหนจะอาการเจ็บป่วยของท่านที่เริ่ม“มา”อย่างไม่ทันตั้งตัว.. หลายคนพูดคล้ายกันว่า “รู้ตัวอีกที ท่านก็แก่”เสียแล้ว 
จุดที่อาจเกิดอุบัติเหตุสูงสุดในบ้าน คือห้องน้ำ แต่ก็เป็นจุดที่เราสามารถปรับปรุงได้ค่อนข้างง่ายสุดเช่นกัน (วิธีเหล่านี้เป็นวิธีสำหรับผู้สูงอายุที่ยังช่วยเหลือตัวเองและสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้นะคะ ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือที่ต้องนั่งรถเข็นแล้วละก็ ต้องปรับกันเยอะเลยล่ะค่ะ) เริ่มจากบริเวณอาบน้ำ หาเก้าอี้อาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุให้ท่านสักตัว หากเนื้อที่จำกัด หรือเป็นแค่ Shower Box จะเป็นแบบไม่มีพนักพิงก็ได้นะคะ อย่างของว่านนี่ซื้อมาให้ท่านใช้ตั้งแต่ย้ายมาอยู่ใหม่ ๆ เลย เราก็ได้นั่งอาบด้วย สบายดี ^_^ แต่อย่างนึงที่หลายคนมักจะลืมก็คือ พอท่านแก่ตัวลง กระดูกสันหลังก็จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา รวมถึงเส้นเอ็นและข้อต่อต่าง ๆ ด้วย ท่านอาจจะเหยียดตัวหรือแขนไปหยิบฝักบัวจากที่แขวนไม่ถนัดอย่างแต่ก่อน การเปลี่ยนนิสัยการใช้ เอาหัวฝักบัวมาพาดบนเก้าอี้หลังใช้เสร็จให้ท่านหยิบง่าย ๆ ก็เป็นตัวช่วยที่แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจอย่างหนึ่งค่ะ =)

นอกจากฝักบัวแล้ว สายชำระหรือจุดแขวนกระดาษทิชชู่ ลองสำรวจดูว่าเป็นจุดที่ท่านเอี้ยวตัวไปหยิบได้ยากหรือลำบากไหม ถ้าใช่ก็.. ปรับซะ ตัวช่วยมีมากมาย จะตะขอแขวนหรือกล่องใส่ทิชชู่ม้วน วางในที่ ๆ ท่านหยิบสะดวกก็ว่ากันไป.. อ้อ ถ้ามีที่มีทาง ม้านั่งเตี้ย ๆ ไว้เสริมใต้เท้าตอนนั่งชักโครกก็ดีค่ะ ช่วยในการขับถ่าย แต่ถ้าเกะกะหรือพื้นที่จำกัดก็ไม่ต้อง ให้ระวังการสะดุดล้มดีกว่า พรมเช็ดเท้าอย่าลืมใช้แบบที่ไม่ลื่นนะคะ 

ตอนดึก ๆ เวลาท่านลุกมาเข้าห้องน้ำ ไฟสว่างพอไหม ถ้าต้องลุกมาเปิดไฟ จะสะดุดอะไรหรือเปล่า? Mi Motion-Activated Night Light ช่วยท่านได้ XD ยี่ห้ออื่นก็คงมีน่ะนะ แต่เห็นราคาน่าคบ ฟังก์ชั่นตอบโจทย์ ก็สอยเลยจ้ะ บางทีเซ็นเซอร์ยังก่งก๊งบ้าง เดี๋ยวต้องหามุมที่ใช่ต่อไป 

จริง ๆ ยังมีวิธีอีกมากที่เราสามารถปรับเปลี่ยนบ้านเป็น Universal Design หรือการออกแบบเพื่อมวล ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ไว้จะมานำเสนอเพิ่มเติมต่อ ๆ ไปนะคะ ขอบคุณที่ติดตามค่ะ ( ^_^ )